ระเบียบการปฏิบัติงาน ของกลุ่มการพยาบาล

 

 

๑. วันหยุดของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ / เดือน

พยาบาลวิชาชีพ / พยาบาลเทคนิค / ลูกจ้างประจำ  ลูกจ้างชั่วคราว ได้หยุดเท่ากับวันหยุดราชการ / เดือน ซึ่งรวมวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันชดเชยวันหยุดนักขัตฤกษ์

. การเปลี่ยนวันหยุดและการแลกเวร

๒.๑  ระเบียบการแลกเวร กรอกข้อความลงในแบบฟอร์มการขออนุญาตแลกเวร แล้วเซ็นชื่อขอแลกเวร

       ให้เรียบร้อย แล้วจึงนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น เพื่อรอการอนุมัติก่อนจึงจะหยุดได้

๒.๒  ระเบียบการแลกเปลี่ยนเวรต่างระดับ เขียนบันทึกขออนุญาต แต่ในเวรนั้นต้องมีพยาบาลวิชาชีพ

       ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 2 คน

๒.๓  การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้ปฏิบัติต่อเนื่องไม่เกิน ๗ วัน หรือ ๘ เวรต่อด้วยวันหยุดอื่น

๒.๔  วันหยุดที่หน่วยงานจัดให้รวมกับวันหยุดที่ขอแลกเวร รวมกันแล้วต้องไม่เกิน ๕ วัน/ครั้ง

๒.๕  การหยุดต่อเนื่อง รวมวันพักผ่อน ๕ วัน ต้องไม่เกิน ๙ วัน ยกเว้นพักร้อน ๑๐ วัน ให้ได้ไม่เกิน ๑๔ วัน                   

          ๒.๖  ห้ามปฏิบัติงานต่อเนื่องกันมากกว่า ๑๖ ชม. ยกเว้นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือกรณีขาดอัตรากำลัง

๓. การงดขึ้นเวรบ่าย– ดึก

๓.๑  เจ้าหน้าที่ตั้งครรภ์และอายุครรภ์ ตั้งแต่ ๓๖ สัปดาห์เป็นต้นไป ให้ขึ้นปฏิบัติงานเฉพาะเวรเช้าจนถึงกำหนดคลอดจริง

๓.๒  เจ้าหน้าที่อายุตั้งแต่ ๕๕ ปีขึ้นไป จัดให้ขึ้นปฏิบัติงานเวรเช้า และเวรบ่าย กรณีที่หน่วยงานนั้นๆ    

       ขาดอัตรากำลังสามารถจัดให้ช่วยขึ้นเวรดึกได้ ตามความเหมาะสม

๔.  งดปฏิบัติงานเวร Refer

สำหรับพยาบาลที่มีอายุตั้งแต่ ๕๕ ปีขึ้นไป เจ้าหน้าที่ตั้งครรภ์ และมีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการไป Refer

๕. ระเบียบการแต่งกาย  (ภาคผนวก)

๖. การขอย้ายหน่วยงานภายในกลุ่มการพยาบาล
          กลุ่มการพยาบาลเปิดโอกาส ให้พยาบาลวิชาชีพยื่นเรื่องแสดงความจำนงขอย้ายหน่วยงานไปปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยต่างๆโดยระบุคุณสมบัติ และนำเข้ากรรมการพิจารณา ตามเวลาที่มีพยาบาลจบใหม่มา

๗. ระเบียบการลา

    ๗.๑ ข้าราชการ

          ลาพักผ่อน        ลาพักผ่อนปีละ 10 วันทำการ หากลาไม่หมดสะสมในปีถัดไปไม่เกิน 20 วันทำการ

                         หากรับราชการติดต่อกันมาแล้ว 10 ปี ขึ้นไป ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมรวมกับ

       วันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทำการ

          ลาป่วย             ลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์

          ลาคลอดบุตร   ลาคลอดได้ 90 วัน

          ลากิจ                ลากิจลาได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้

          ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร      หากประสงค์จะลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ

          ลาอุปสมบท      ลาอุปสมบทต้องได้รับการจ้างงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่เกิน 120 วัน

    ๗.๒ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

         1. การลาป่วย ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ

         2. การลาคลอดบุตร 90 วัน ได้รับค่าจ้างระหว่างลาได้ไม่เกิน 45 วัน อีก 45 วัน เบิกจากประกันสังคมตามสิทธิ์

         3. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรได้รับค่าจ้างระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ/การคลอดบุตร1ครั้ง

4. การลากิจส่วนตัว ปีละไม่เกิน 15 วันทำการ ปีแรกที่จ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่เกิน 6 วันทำการ

5. การลาพักผ่อน ปีละไม่เกิน 10 วันทำการ ไม่มีสะสมวันลา ปีแรกที่ได้รับการจ้างยังไม่ครบ 6 เดือน

   ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน

6. การลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ มีสิทธิลาได้จำนวน 1 ครั้ง ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 120 วัน

   ต้องได้รับการจ้างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 ปี

7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ลาได้ตามระยะเวลาที่ทางราชการทหารกำหนด

8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงานในประเทศ กรณีการลาไปศึกษา

   ต้องเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่จ้างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

สิ่งที่พนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไปต้องปฏิบัติเมื่อเริ่มปฏิบัติงาน

  1. เปิดบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย (สาขาใดก็ได้) แล้วถ่ายหน้าบัญชีให้การเงินโดยเร็วที่สุด
  2. ติดต่อทำประกันสังคมที่ห้องประกันสุขภาพ (ไม่ว่าจะเคยมีบัตรประกันสังคมแล้วหรือไม่ก็ตาม)

กฎเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ที่ควรรู้ (โดยสังเขป)

1. พนักงานกระทรวงสาธารณสุข จะต้องได้รับการประเมินการจ้างปีละ 2 ครั้ง (เม.ย. และ ต.ค.)

   และจะต่อสัญญาจ้าง 4 ปีต่อครั้ง และต้องผ่านการประเมินในระดับดี 2 ครั้ง ถ้าไม่ผ่านเลิกจ้าง

2. พนักงานกระทรวงสาธารณสุข จะต้องเป็นสมาชิก ฌกส. ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาทุกคน

   ในกรณีที่มีญาติ เจ้าหน้าที่ เสียชีวิต จะหักเงินช่วยศพละ 30 บาท

3. พนักงานกระทรวงสาธารณสุข มีสิทธิสมัคร ฌกส. สามัญและสมทบของกระทรวงสาธารณสุข

   (อายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์)

4. สิทธิการรักษาใช้สิทธิประกันสังคม

   ๗.๓ ลูกจ้างชั่วคราว
         - ช่วงทดลองงาน 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาใดๆ ทั้งสิ้น (หากมีการลาการเงินจะหักเงินโดยหักเป็นรายวัน)

         - หลังพ้นทดลองงาน 6 เดือน ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิลาได้ดังนี้

          ลาพักผ่อน     ปฏิบัติงานครบ 6 เดือน มีสิทธิลาได้ปีละ 10 วันทำการ (ไม่มีสะสม)

         ลาป่วย           ปฏิบัติงานครบ 6 เดือน ลาได้ไม่เกิน 8 วันทำการ ปีถัดไปลาได้ไม่เกิน ปีละ 15 วันทำการ

          ลาคลอด        ปฏิบัติงานครบ 7 เดือน ลาได้ 90 วัน โดย 45 วัน รับเงินค่าจ้างจากหน่วยงานต้นสังกัด

                                และอีก 45 วัน ให้รับจากประกันสังคม

          ลากิจ             ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีสิทธิลากิจ (ลาได้โดยหักเงินคิดเป็นรายวัน)

          ลาอุปสมบท   ลูกจ้างชั่วคราวสามารถลาได้โดยไม่ได้รับค่าจ้าง (ไม่เกิน 120 วัน)

 

สิ่งที่ลูกจ้างชั่วคราวต้องปฏิบัติเมื่อเริ่มปฏิบัติงาน

  1. เปิดบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย (สาขาใดก็ได้) แล้วถ่ายหน้าบัญชีให้การเงินโดยเร็วที่สุด

2. ติดต่อทำประกันสังคมที่ห้องประกันสุขภาพ (ไม่ว่าจะเคยมีบัตรประกันสังคมแล้วหรือไม่ก็ตาม)

 

กฎเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ที่ควรรู้ (โดยสังเขป)

1. ลูกจ้างชั่วคราวจะต้องได้รับการประเมินการปฏิบัติงานในช่วงทดลองงาน 6 เดือน ทุกเดือน

2. ลูกจ้างชั่วคราวจะต้องได้รับการประเมินการจ้างต่อ ปีละ 2 ครั้ง (เม.ย. และ ต.ค.) และจะต่อสัญญาจ้างปีต่อปี

3. ลูกจ้างชั่วคราว จะต้องเป็นสมาชิก ฌกส. ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาทุกคน

   ในกรณีที่มีญาติ เจ้าหน้าที่ เสียชีวิต จะหักเงินช่วยศพละ 30 บาท

3. ลูกจ้างชั่วคราว มีสิทธิสมัคร ฌกส. สามัญและสมทบของกระทรวงสาธารณสุข หลังจากพ้นทดลองงาน 1 ปี แล้ว

   (อายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์)

4. สิทธิค่าห้องพิเศษ (เฉพาะญาติสายตรง พ่อ แม่ สามี ภรรยา บุตร) ตัวเจ้าหน้าที่ฟรี ให้ยึดตามระเบียบสวัสดิการโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา พ.ศ.2553

         

สรุปการลาที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะหยุดราชการได้

  1. ลาพักผ่อน
  2. ลากิจส่วนตัว (ให้ระบุเหตุผลแห่งการลา)
  3. ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร
  4. ลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
  5. การขออนุญาตเดินทางต่างประเทศ

                   โดยสอบถามได้ที่ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง หรือโทร.หมายเลข 1211  ก่อนกำหนดวันขอลา

หมายเหตุ:ยื่นใบลาก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วันทำการ ยกเว้นการลาป่วย / ลาคลอด